วันพุธที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2554














“ เสาหลักของแผ่นดิน
(ทางการ)
เกียรติภูมิจุฬาฯ คือเกียรติแห่งการรับใช้ประชาชน
(ไม่เป็นทางการ)

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นมหาวิทยาลัยแห่งแรกของประเทศไทย[1] ตั้งอยู่ที่เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร ถือกำเนิดจาก "โรงเรียนสำหรับฝึกหัดวิชาข้าราชการฝ่ายพลเรือน" ที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดตั้งขึ้นภายในพระบรมมหาราชวัง เมื่อปี พ.ศ. 2442 พร้อมทั้งพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้อัญเชิญ "พระเกี้ยว" มาเป็นเครื่องหมายประจำโรงเรียน การดำเนินงานของโรงเรียนมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องเป็นลำดับ จนกระทั่ง เมื่อวันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2459 (ขณะนั้นนับวันที่ 1 เมษายน เป็นวันขึ้นปีใหม่ นับอย่างใหม่ต้องเข้าปี พ.ศ. 2460) พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงประดิษฐานขึ้นเป็นมหาวิทยาลัย และพระราชทานนามว่า "จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย" เพื่อเป็นพระบรมราชานุสาวรีย์เฉลิมพระเกียรติแห่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระบรมชนกนาถของพระองค์ นับตั้งแต่ พ.ศ. 2460 ถึงปัจจุบัน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยมีผู้บัญชาการและอธิการบดีดำรงตำแหน่งมาแล้ว 16 คน อธิการบดีคนปัจจุบัน คือ ศาสตราจารย์ นายแพทย์ภิรมย์ กมลรัตนกุล
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้รับการจัดอับดับให้เป็นมหาวิทยาลัยชั้นนำของโลกทั้งในสาขาศิลปศาสตร์และมนุษยศาสตร์ สาขาวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ สาขาเวชชีวศาสตร์ สาขาวิทยาศาสตร์ และสาขาสังคมศาสตร์[2][3] และได้รับการรับรองมาตรฐานการศึกษาในระดับดีมากจากสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา อีกทั้งยังเป็น 1 ใน 9 มหาวิทยาลัยวิจัยแห่งชาติอีกด้วย[4] นอกจากนี้ นักเรียนที่ทำคะแนนรวมได้สูงสุดของคณะต่างๆ จากการคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาด้วยระบบกลางและระบบรับตรงของกลุ่มสถาบันแพทยศาสตร์แห่งประเทศไทย พบว่า ส่วนใหญ่เลือกเข้าศึกษาต่อในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย[5][6]
ปัจจุบัน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเปิดการเรียนการสอนใน 19 คณะ บัณฑิตวิทยาลัย วิทยาลัย และสถาบันต่าง ๆ รวมทั้งสิ้น 540 สาขาวิชา[7] หลักสูตรนานาชาติและภาษาอังกฤษ รวมทั้งสิ้น 85 สาขาวิชา[8] นอกจากนี้ ยังได้จัดตั้งสถาบันวิจัยขึ้นภายในมหาวิทยาลัยอีกหลายแห่งเพื่อดำเนินการวิจัยในศาสตร์ต่าง ๆ ด้วย
อดีตผู้ที่จบการศึกษาจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้รับพระมหากรุณาธิคุณให้เข้ารับพระราชทานปริญญาบัตรจากพระหัตถ์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช แต่ปัจจุบันพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีเสด็จพระราชดำเนินมาปฏิบัติพระราชกรณียกิจแทนพระองค์ในการพระราชทานปริญญาบัตรแก่บัณฑิต มหาบัณฑิต และดุษฎีบัณฑิตแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น