วันพุธที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2554









ประวัติ

ในปี พ.ศ. 2447 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5 แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์) ทรงมีพระราชวินิจฉัยให้อุดหนุนการทำไหมและทอผ้าของประเทศ[6] โดยได้ว่าจ้าง ดร.คาเมทาโร่ โทยาม่า[7][8] จากมหาวิทยาลัยโตเกียว ทดลองเลี้ยงไหมตามแบบฉบับของญี่ปุ่น สอนและฝึกอบรมนักเรียนไทยในวิชาการเลี้ยงและการทำไหม โดยมี พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเพ็ญพัฒนพงศ์ กรมหมื่นพิไชยมหินทโรดม พระราชโอรสในรัชกาลที่ 5 ซึ่งดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมช่างไหม กระทรวงเกษตราธิการในขณะนั้น ทรงจัดตั้งโรงเรียนช่างไหม[9] ขึ้นเมื่อวันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2447[10] ณ ท้องที่ตำบล ทุ่งศาลาแดง กรุงเทพมหานคร ซึ่งนับว่าเป็นสถาบันการศึกษาอันเกี่ยวกับการเกษตรแห่งแรก จากนั้นในภายหลังได้เปลี่ยนชื่อจากโรงเรียนช่างไหมแห่งนี้ เป็นโรงเรียนวิชาการเพาะปลูก ในปีพ.ศ. 2449 (ค.ศ. 1906) เนื่องจากมีวิชาการเพาะปลูกพืชอื่น ๆเข้ามาประกอบ

โรงเรียนเกษตราธิการ พระราชวังวินด์เซอร์
ต่อมาโรงเรียนเกษตราธิการ ได้ถือกำเนิดขึ้น ในปี 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2451วังสระปทุม[11] โดยที่กระทรวงเกษตราธิการได้ทำการรวบรวมโรงเรียนที่อยู่ในสังกัดของกระทรวง 3 โรงเรียนคือโรงเรียนแผนที่ (จัดตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2425) โรงเรียนกรมคลอง (จัดตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2448) และโรงเรียนวิชาการเพาะปลูก เป็นโรงเรียนเดียวกันเพื่อผลิตคนเข้ารับราชการในกรมกองต่าง ๆ ของกระทรวงเกษตราธิการ ถือได้ว่าเป็นหลักสูตรระดับอุดมศึกษาวิชาเกษตรศาสตร์ หลักสูตรแรกของประเทศไทย โดยได้เริ่มดำเนินการสอนหลักสูตรใหม่นี้ในปี พ.ศ. 2452
ด้วยเหตุที่วัตถุประสงค์ของโรงเรียนกระทรวงเกษตราธิการ ตรงกับพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 6 แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์) ในเรื่องของการจัดตั้ง โรงเรียนข้าราชการพลเรือน[12] ซึ่งได้ทรงจัดตั้งขึ้นในกระทรวงธรรมการ โรงเรียนกระทรวงเกษตราธิการจากเดิมที่สังกัดกระทรวงเกษตราธิการจึงย้ายมาสังกัดกระทรวงธรรมการ ในปี พ.ศ. 2456โดยใช้ วังวินด์เซอร์[13] เป็นสถานที่ทำการเรียนการสอนของโรงเรียนกระทรวงเกษตราธิการที่ยุบเข้ารวมกับ โรงเรียนข้าราชการพลเรือน

หอประชุมใหญ่ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เมื่อแรกสร้าง

ภาพขณะพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานปริญญาบัตร เมื่อในอดีต
และในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์ทรงส่งนักเรียนไทยไปเรียนต่างประเทศจำนวนมาก ในจำนวนนี้มีพระยาเทพศาสตร์สถิตย์ และ เจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี (สนั่น เทพหัสดิน ณ อยุธยา) เสนาบดีกระทรวงธรรมการ ทั้ง 2 ท่านได้เริ่มก่อตั้งโรงเรียนด้านการเกษตรโดยสังกัดกระทรวงเกษตราธิการขึ้นมาอีกครั้ง ในนาม "โรงเรียนฝึกหัดครูประถมกสิกรรม" ตั้งอยู่ที่ ตำบลหอวังในปี พ.ศ. 2460 ภายหลังจึงได้มีการย้ายการเรียนการสอนไปที่ ตำบลพระประโทน อำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม ในปี พ.ศ. 2461[14]
ในปี พ.ศ. 2474 หม่อมเจ้าสิทธิพร กฤดากร และเจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี ได้ร่วมกันขยายการจัดตั้ง โรงเรียนฝึกหัดครูประถมกสิกรรม ไปสู่ระดับภูมิภาคมากขึ้น โดยภาคกลางตั้งอยู่ที่จังหวัดสระบุรี ภาคเหนือตั้งอยู่ที่จังหวัดเชียงใหม่ ภาคอีสานตั้งอยู่ที่จังหวัดนครราชสีมา และภาคใต้ตั้งอยู่ที่จังหวัดสงขลา
พ.ศ. 2478 โรงเรียนฝึกหัดครูประถมกสิกรรมในภูมิภาคต่างๆ ได้ปิดตัวลงตามข้อบังคับของการปรับเปลี่ยนระบบราชการในขณะนั้น จึงได้มีการยุบรวมโรงเรียนในส่วนภูมิภาคทั้งหมดเข้าไว้ด้วยกัน หลวงอิงคศรีกสิการ หลวงสุวรรณวาจกกสิกิจ และพระช่วงเกษตรศิลปการ (สามบูรพาจารย์ผู้ให้กำเนิดมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์) [15][16] จึงเสนอให้รักษาโรงเรียนฝึกหัดครูประถมกสิกรรม (ปัจจุบันมหาวิทยาลัยแม่โจ้)ไว้ที่ อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ เพียงแห่งเดียว และเปลี่ยนชื่อโรงเรียนเป็น "โรงเรียนมัธยมวิสามัญเกษตรกรรม" ต่อมาจึงได้มีการยกฐานะของโรงเรียนจนก่อตั้งเป็น "วิทยาลัยเกษตรศาสตร์" มีฐานะเป็นกองวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ในกรมเกษตรและประมง ตามความต้องการของกระทรวงเกษตราธิการ
ต่อมากระทรวงเกษตราธิการได้จัดตั้งสถานีเกษตรกลางขึ้นในท้องที่ อำเภอบางเขน จังหวัดพระนคร (กรุงเทพมหานคร) ดังนั้น จึงได้ย้ายวิทยาลัยเกษตรศาสตร์มาตั้งอยู่ที่ อ. บางเขนในปี พ.ศ. 2481 และให้ส่วนราชการที่ อำเภอสันทราย เป็น "โรงเรียนเตรียมเกษตรศาสตร์" เพื่อเป็นการเตรียมนิสิตให้วิทยาลัยเกษตรศาสตร์ที่ อำเภอบางเขนต่อไป [17]
ในปี พ.ศ. 2486 วิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้รับการยกฐานะขึ้นเป็น "มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์" ในรัฐบาลสมัยจอมพล ป. พิบูลสงคราม มีฐานะเป็นกรมในสังกัดกระทรวงเกษตราธิการ[18] และให้แต่งตั้งข้าราชการประจำ ดำรงตำแหน่งเลขาธิการมหาวิทยาลัย หลวงสินธุสงครามชัย ในฐานะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตราธิการ เป็นผู้ดำรงตำแหน่งอธิการบดีคนแรก มีการเปิดสอนใน 4 คณะ[19] คือ โดยมี คณะกสิกรรมและสัตวบาล คณะการประมง คณะวนศาสตร์ และคณะสหกรณ์ เป็นคณะแรกตั้ง (ในปัจจุบันคือ คณะเกษตร[20] คณะประมง[21] คณะวนศาสตร์[22] คณะเศรษฐศาสตร์[23] และ คณะบริหารธุรกิจ[24])

 ชื่อและความหมาย

มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ใช้คำว่า "เกษตรศาสตร์" เป็นชื่อภาษาไทยของมหาวิทยาลัย และใช้คำว่า "Kasetsart" ในภาษาอังกฤษ
"เกษตรศาสตร์" มาจากคำว่า เกษตร (เขต หรือ แผ่นดิน) และ ศาสตร์ (ความรู้ หรือ การศึกษา) ซึ่งรวมกันมีความหมายโดยทั่วไปว่า การศึกษาเกี่ยวกับเขตและแผ่นดิน หรือ ศาสตร์แห่งแผ่นดิน คำนี้ตรงกับคำภาษาอังกฤษว่า Agriculture แปลว่า การเพาะปลูกแบบรูปธรรม มีรากคำมาจากภาษาละตินคือคำว่า agrīcultūra : agrī หมายความถึงสิ่งที่เป็นรูปธรรม และคำว่า cultūra หมายความถึง วัฒนธรรม, สิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น หรือการเพาะปลูก[25]
คำว่า "เกษตร" อันเป็นชื่อของมหาวิทยาลัยนั้น มีที่มาจากการที่กระทรวงเกษตราธิการต้องการจัดตั้งสถาบันการศึกษาวิชาการเกษตรอันเนื่องด้วยวิชาการผลิตและการค้า เพื่อผลิตคนเข้ารับราชการในกรมกองต่างๆ ของกระทรวงเป็นการเฉพาะ[26] โดยคำว่า "เกษตร" นั้นถูกจารึกขึ้นในประวัติศาสตร์สยามครั้งแรกในรัชสมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 (พระเจ้าอู่ทอง) ในปี พ.ศ. 1893[27] ได้มีการจัดตั้งการปกครองแบบจตุสดมภ์ขึ้น คือ เวียง วัง คลัง นา ซึ่งตำแหน่งเสนาบดีกรมนาในขณะนั้นมีชื่อเรียกว่า "ขุนเกษตราธิบดี" มีอำนาจทั้งทางบริหารและอำนาจตุลาการใน"การจัดการเรื่องที่ดินและชลประทาน" เพื่อเอื้ออำนวยประโยชน์แก่ประชาชนในการประกอบอาชีพเกษตรกรรม การเลี้ยงชีพ การผลิตและการค้ากับนานาประเทศ ภายหลังจึงมีการเปลี่ยนชื่อกรมนา เป็นกระทรวงเกษตรพนิชการ, กระทรวงเกษตราธิการ, กระทรวงเกษตรพาณิชยการ, กระทรวงเศรษฐการ, กระทรวงเกษตราธิการ, กระทรวงเกษตร จนมาสู่ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ตามลำดับ[28][29][30]
ส่วนคำว่าเกษตรตามความหมายพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 ให้คำจำกัดความไว้ว่า เกษตร [กะเสด] น. ที่ดิน, ทุ่ง, นา, ไร่; ซึ่งความหมายในโบราณกาลว่า เขต, แดน (ในภาษาสันสกฤตจะใช้คำว่า เกฺษตฺร ส่วนภาษาบาลีจะใช้คำว่า เขตฺต). เช่นคำว่า
พุทธเกษตร (พุทธ+เกษตร) แปลความหมายว่า ดินแดนแห่งพุทธ
กษัตริย์ (เกษตร+อริย) แปลความหมายว่า พระเจ้าแผ่นดิน
ในระหว่าง พ.ศ. 2518 ได้มีการวิ่งเต้นขอให้เปลี่ยนชื่อมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์จากบุคคลกลุ่มหนึ่ง โดยอ้างเหตุผลนานัปการทำให้เกิดความขัดแย้งอย่างรุนแรงในสังคมของชาวมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มีการแถลงข่าวโจมตีซึ่งกันและกัน ระหว่างฝ่ายที่อยากให้เปลี่ยนชื่อและไม่ประสงค์ให้เปลี่ยนชื่อ ผู้บริหารมหาวิทยาลัยได้อนุญาตให้นิสิตหยุดเรียนครึ่งวันเพื่อจัดทำประชามติในเรื่องนี้ ภายหลังจึงมีการเห็นสมควรให้มีการใช้ชื่อ เกษตรศาสตร์ เป็นชื่อของมหาวิทยาลัย เพื่อเป็นการระลึกและย้ำเตือนถึงศาสตร์อันเป็นรากฐานวัฒนธรรม ความรู้ และวิทยาการของแผ่นดินไทย[31][32]
จนกระทั่งปีพ.ศ. 2520 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลปัจจุบัน ได้มีพระราชดำรัสถึงความหมายของคำว่าเกษตรศาสตร์ตามชื่อของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ไว้ว่า[33]

Cquote1.svg
คำว่าเกษตรศาสตร์ อันเป็นชื่อของมหาวิทยาลัยนี้นั้น ฟังดูมีความหมายจำกัดอยู่เพียงการทำนา แต่ความจริง เกษตรศาสตร์ ตามความหมายในปัจจุบัน กินความกว้างขวางมาก คือรวมเอาวิชาหรือศาสตร์ทั้งปวงที่เกี่ยวข้องกับชีวิตจิตใจของมนุษย์เข้าไว้เกือบทั้งหมด มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์จึงสอนวิชาการสาขาต่าง ๆ มากมายหลายสาขา ทั้งฝ่ายวิทยาศาสตร์ ทั้งฝ่ายศิลปศาสตร์ เรียกได้ว่าครบถ้วนที่จะเป็นมหาวิทยาลัยในความหมายสากลอย่างสมบูรณ์
Cquote2.svg

คำ "เกษตรศาสตร์" ที่เป็นวิสามานยนามอันเป็นชื่อมหาวิทยาลัยแห่งนี้ อ่านว่า "กะ-เสด-สาด" แต่ในกรณีที่หมายถึงวิชาว่าด้วยการเกษตร คำนี้อ่านว่า "กะ-เสด-ตฺระ-สาด"

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น